ต้องรู้! 7 ส่วนผสมของสมุนไพรจีนที่สามารถช่วยให้สุขภาพของคุณดีขึ้น!

By Kristy Or March 16, 2020 การแพทย์แผนจีนได้กลับมาฮิตติดกระแสอีกครั้งหลังจากวิธีการรักษาทางธรรมชาติได้กลับมารับความนิยมมากขึ้น ในทางการแพทย์แผนจีน พลังงาน ฉี เป็นพลังงานสำคัญที่ช่วยควบคุมร่างกายและทำให้ทำงานได้ตามปกติ การหยุดชะงักใด ๆ ของฉี ถูกมองว่าเป็นแหล่งที่มาของปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงโรคทั่วไป เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้ ไอ ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล เราได้พูดคุยกับแพทย์แผนจีน 2 ท่าน ได้แก่ Gianna Buonocore จาก Integrated Medicine Institute และ Cecilia Cheung จาก Health Wise สำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับสมุนไพรที่เราควรเพิ่มในตารางการบริโภคเพื่อช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและพัฒนาสุขภาพกายและจิตของคุณให้ดีขึ้น ส่วนผสมที่แนะนำมากที่สุดโดยสองผู้เชี่ยวชาญที่ควรเพิ่มในตารางบริโภคประจำวันเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของคุณ คือ รากแอสทากาลัส หรือภาษาจีน  คือ Huang Qi รากแอสทากาลัสคือรากที่เป็นสมุนไพรหลักที่ใช้ในการแพทย์แผนจีนเพื่อเพิ่มพลังงานและส่งเสริมสารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยทั่วไปแล้วรากแอสทากาลัสจะถูกต้มผสมกับ Atractylodes Rhizome (Bai Zhu) และ Ledebouriella Root (Feng…

Published on
Read : 2 min
ต้องรู้! 7 ส่วนผสมของสมุนไพรจีนที่สามารถช่วยให้สุขภาพของคุณดีขึ้น! | Thailand Tatler

By Kristy Or March 16, 2020

การแพทย์แผนจีนได้กลับมาฮิตติดกระแสอีกครั้งหลังจากวิธีการรักษาทางธรรมชาติได้กลับมารับความนิยมมากขึ้น ในทางการแพทย์แผนจีน พลังงาน ฉี เป็นพลังงานสำคัญที่ช่วยควบคุมร่างกายและทำให้ทำงานได้ตามปกติ การหยุดชะงักใด ๆ ของฉี ถูกมองว่าเป็นแหล่งที่มาของปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตใจ รวมถึงโรคทั่วไป เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้ ไอ ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล

เราได้พูดคุยกับแพทย์แผนจีน 2 ท่าน ได้แก่ Gianna Buonocore จาก Integrated Medicine Institute และ Cecilia Cheung จาก Health Wise สำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับสมุนไพรที่เราควรเพิ่มในตารางการบริโภคเพื่อช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันและพัฒนาสุขภาพกายและจิตของคุณให้ดีขึ้น

ส่วนผสมที่แนะนำมากที่สุดโดยสองผู้เชี่ยวชาญที่ควรเพิ่มในตารางบริโภคประจำวันเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของคุณ คือ รากแอสทากาลัส หรือภาษาจีน  คือ Huang Qi รากแอสทากาลัสคือรากที่เป็นสมุนไพรหลักที่ใช้ในการแพทย์แผนจีนเพื่อเพิ่มพลังงานและส่งเสริมสารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน โดยทั่วไปแล้วรากแอสทากาลัสจะถูกต้มผสมกับ Atractylodes Rhizome (Bai Zhu) และ Ledebouriella Root (Feng Feng) เพื่อต้มเป็นซุป Cecilia กล่าวว่า ซุปนี้เปรียบเสมือน “การสร้าง ‘กำแพงป้องกัน’ เพื่อปกป้องร่างกายของคุณ” จากหวัดและไข้หวัดใหญ่และ “โดยทั่วไปก็ดีสำหรับทุกคน” ในทุกช่วงเวลาของชีวิต

ขิงสด มักถูกใช้เพื่อเพิ่มระดับพลังงานของร่างกาย ตามที่ Gianna กล่าวว่า “ไม่เพียงแต่จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง แต่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณดีขึ้น” และ “ช่วยล้างเชื้อโรคโดยการกระตุ้นเหงื่อ” ขิงถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่เบื้องต้นและอาการที่เกิดจากความร้อน เช่น คอแห้งและระคายเคืองคอ ท้องผูกและเหนื่อยล้า นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและช่วยในการบรรเทาอาการท้องผูก อาการอาเจียน และอาการแพ้ท้องอีกด้วย

กระเทียมได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านไวรัส เชื้อรา และต้านการอักเสบ สารออกฤทธิ์ในกระเทียมที่รู้จักกันในชื่อ อัลลิซิน มีคุณสมบัติต้านจุลชีพซึ่งถูกกระตุ้นผ่าน “การสับ การบด หรือการเคี้ยวกระเทียมดิบ” อย่างไรก็ตาม Gianna ให้คำเตือนว่าคุณสมบัติเหล่านี้จะถูกทำลายลงในระหว่างการปรุงอาหาร

ดอกเก๊กฮวย คือสมุนไพรระบายความร้อนและมีคุณสมบัติต้านจุลชีพที่มีผลต่อการทำความสะอาดร่างกายและสามารถช่วยในการล้างความร้อนในร่างกาย Cecilia อธิบายว่าดอกเก๊กฮวยเป็น “สมุนไพรล้างปอด” และเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นตัวช่วยบรรเทาอาการ ปวดหัว เจ็บคอ สิว และแผลพุพอง ทั้งนี้ดอกเก๊กฮวยยังถูกใช้ในการรักษาปัญหาอื่น ๆ เช่น อาการนอนไม่หลับ อาการเมื่อยล้าทางสายตา และความดันโลหิตสูง

Gianna กล่าวว่า เก๋ากี้ (โกจิ เบอร์รี่) หรือ Wolfberry Fruit มักใช้เพื่อ “อายุวัฒนะ เสริมสุขภาพ พละกำลัง พลังงานและความแข็งแกร่ง” ในทางการแพทย์แผนจีนนั้น โดยทั่วไปจะถูกใช้เพื่อรักษาสายตา เบาหวาน และโรคโลหิตจาง คุณสามารถเพิ่มลงในเมนูอาหารเช้าหรือใส่ในชาของคุณสำหรับสารอาหารเสริมพิเศษ

พุทราแดงมักถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโดยแพทย์แผนจีน เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าหรือมีอาการเบื่ออาหาร พุทราแดงมีคุณสมบัติในการทำให้จิตใจสงบลง ลดความเครียด และลดความวิตกกังวล Gianna แนะนำ “ดื่มชาพุทราแดงก่อนนอน จะช่วยทำให้การนอนหลับพักผ่อนสบายขึ้นหรือช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ”

ในทางการแพทย์แผนจีน กุหลาบ ช่วยเสริมสร้างพลังด้านร้อนและใช้ในการบรรเทาอาการปวดท้อง ลดอากอาหารไม่ย่อย ปรับปรุงการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย ช่วยในการควบคุมการมีประจำเดือนและบรรเทาอาการปวดท้อง Gianna แนะนำว่า “ชาดอกกุหลาบสามารถใช้ร่วมกับเก๋ากี้ (โกจิ เบอร์รี่) หรือพุทราแดงเพื่อต่อสู้กับความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และเฉื่อยชา” อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่มีปัญหาจากอาการเจ็บคอ คอแห้ง หรือท้องผูก Cecilia แนะนำว่าไม่ควรบริโภคในปริมาณที่เยอะเกินไป

Leave a Comment

Share to...