การกลับมาของผู้บุกเบิกและผู้ให้บริการอาหารวีแกนในกรุงเทพฯ ตอนที่ 2

หากพูดถึงร้านอาหารวีแกนแบบสแตนด์อโลนในกรุงเทพฯ Veganerie ถือเป็นดาวเด่นของเมือง เปิดกิจการเมื่อ 6 ปีที่แล้ว หรือ 7 ปีหากคุณนับรวมป๊อปอัพตลาดฟาร์มเมอร์มาร์เก็ต ธุรกิจนี้ดำเนินการโดย ณปภัสสร ต่อเทียนชัย หรือ จ๊ะจ๋า นักอบขนมที่เดินตามรอยคุณแม่ของเธอในการเปลี่ยนตัวเองมาเป็นวีแกนก่อนที่จะเปิดร้านอาหารแห่งแรกของเธอ เธอภูมิใจที่ได้เขียนคำว่าวีแกนลงบนแผนที่ในกรุงเทพฯ พร้อมกับสาขาร้านอาหารของเธอที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว “ก่อนที่เราจะเปิดให้บริการในปี 2014 คุณไม่สามารถหาร้านคอนเซปต์แบบนี้ได้ มีเพียงเจหรือมังสวิรัติ ซึ่งเป็นคำไทยสำหรับวีแกนและมังสวิรัติแบบจีน ซึ่งมักจะสื่อถึงประสบการณ์การรับประทานอาหารที่แตกต่างไปจากที่คุณจะได้พบที่ Veganerie” จ๊ะจ๋าอธิบาย เจหรือมังสวิรัติมักจะสื่อถึงการเสียสละ พระพุทธศาสนาและการทำบุญ อีกทั้งอาหารก็เค็มเกินไปและไม่น่ารับประทาน อย่างไรก็ตาม ที่ Veganerie คุณจะพบกลุ่มเพื่อนที่ดูชิคกำลังหัวเราะเฮฮาในระหว่างเลือกซื้อขนมและเครื่องดื่มที่มีสีสันสวยงาม คุณจะได้พบหนุ่มสาวสายออกกำลังกายและนักกีฬา(ดูได้จากกางเกงโยคะและรองเท้าวิ่ง)ที่แวะมาใช้บริการหลังจากออกกำลังกายหรือเติมพลังก่อนไปฟิตหุ่น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มครอบครัวซึ่งในหลายครั้งถูกลูก ๆ ลากเข้ามาให้ลองชิมอาหารรสเลิศที่ไม่มีเนื้อสัตว์ ไม่มีไข่ ไม่มีนม หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากสัตว์ “Jajah” Napaphatsorn Totienchai, founder of Veganerie “โดยส่วนตัวแล้วมันทำให้ฉันมีความสุขมากที่ได้เห็นคนมารับประทานอาหารที่ร้านอาหารของฉันเป็นครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้เห็นคนรุ่นเก่าเปิดใจกับมัน เพราะเมื่อก่อนมีเพียงกลุ่มคนที่อายุน้อยกว่าเท่านั้น” จ๊ะจ๋ากล่าว แฟน ๆ หลายคนของร้าน Veganerie มาจากชุมชนชาวต่างชาติ แต่จ๊ะจ๋าสังเกตเห็นว่าในช่วง…

Published on
Read : < 1
การกลับมาของผู้บุกเบิกและผู้ให้บริการอาหารวีแกนในกรุงเทพฯ ตอนที่ 2 | Thailand Tatler

หากพูดถึงร้านอาหารวีแกนแบบสแตนด์อโลนในกรุงเทพฯ Veganerie ถือเป็นดาวเด่นของเมือง เปิดกิจการเมื่อ 6 ปีที่แล้ว หรือ 7 ปีหากคุณนับรวมป๊อปอัพตลาดฟาร์มเมอร์มาร์เก็ต ธุรกิจนี้ดำเนินการโดย ณปภัสสร ต่อเทียนชัย หรือ จ๊ะจ๋า นักอบขนมที่เดินตามรอยคุณแม่ของเธอในการเปลี่ยนตัวเองมาเป็นวีแกนก่อนที่จะเปิดร้านอาหารแห่งแรกของเธอ เธอภูมิใจที่ได้เขียนคำว่าวีแกนลงบนแผนที่ในกรุงเทพฯ พร้อมกับสาขาร้านอาหารของเธอที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว “ก่อนที่เราจะเปิดให้บริการในปี 2014 คุณไม่สามารถหาร้านคอนเซปต์แบบนี้ได้ มีเพียงเจหรือมังสวิรัติ ซึ่งเป็นคำไทยสำหรับวีแกนและมังสวิรัติแบบจีน ซึ่งมักจะสื่อถึงประสบการณ์การรับประทานอาหารที่แตกต่างไปจากที่คุณจะได้พบที่ Veganerie” จ๊ะจ๋าอธิบาย

เจหรือมังสวิรัติมักจะสื่อถึงการเสียสละ พระพุทธศาสนาและการทำบุญ อีกทั้งอาหารก็เค็มเกินไปและไม่น่ารับประทาน อย่างไรก็ตาม ที่ Veganerie คุณจะพบกลุ่มเพื่อนที่ดูชิคกำลังหัวเราะเฮฮาในระหว่างเลือกซื้อขนมและเครื่องดื่มที่มีสีสันสวยงาม คุณจะได้พบหนุ่มสาวสายออกกำลังกายและนักกีฬา(ดูได้จากกางเกงโยคะและรองเท้าวิ่ง)ที่แวะมาใช้บริการหลังจากออกกำลังกายหรือเติมพลังก่อนไปฟิตหุ่น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มครอบครัวซึ่งในหลายครั้งถูกลูก ๆ ลากเข้ามาให้ลองชิมอาหารรสเลิศที่ไม่มีเนื้อสัตว์ ไม่มีไข่ ไม่มีนม หรือสิ่งอื่นใดที่ได้จากสัตว์

“Jajah” Napaphatsorn Totienchai, founder of Veganerie

“โดยส่วนตัวแล้วมันทำให้ฉันมีความสุขมากที่ได้เห็นคนมารับประทานอาหารที่ร้านอาหารของฉันเป็นครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้เห็นคนรุ่นเก่าเปิดใจกับมัน เพราะเมื่อก่อนมีเพียงกลุ่มคนที่อายุน้อยกว่าเท่านั้น” จ๊ะจ๋ากล่าว แฟน ๆ หลายคนของร้าน Veganerie มาจากชุมชนชาวต่างชาติ แต่จ๊ะจ๋าสังเกตเห็นว่าในช่วง 2 ถึง 3 ปีที่ผ่านมาจำนวนลูกค้าชาวไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว “คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของลูกค้าทั้งหมดและตัวเลขก็กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ”

หากดูกันที่ข้อมูลกลุ่มลูกค้าของ Veganerie ให้ลึกขึ้น ในบรรดากลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติ คนที่เป็นวีแกนคือกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตามในหมู่คนไทยผู้ที่ไม่ได้เป็นวีแกนถือเป็นลูกค้าหลักของ Veganerie และนี่คือสิ่งที่จ๊ะจ๋าใช้เป็นเครื่องกำหนดความสำเร็จ แต่ถ้าคุณอยากรู้ว่า Veganerie ประสบความสำเร็จหรือไม่ คุณก็ต้องดูว่าตอนนี้เจ้าของกิจการสาววีแกนวัย 26 ปีกำลังทำอะไรอยู่ “ฉันเพิ่งกลับมาจากโอมาน ซึ่งฉันได้รับเชิญจากเครือโรงแรมอนันตราให้พัฒนาเมนูวีแกนของพวกเขา” นอกเหนือจากการเดินทางไปทั่วโลกเพื่อแบ่งปันความเชี่ยวชาญด้านอาหารวีแกนและบริหาร Veganerie 6 สาขาในกรุงเทพฯแล้ว เธอยังเป็นอินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดียอีกด้วย ซึ่งเธอนำเสนอมุมมองเชิงบวกของชีวิต “ฉันคิดว่า ไม่เพียงแค่ข่าวและสื่อเท่านั้นที่ช่วยเผยแพร่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับวีแกน แต่ชุมชนก็มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวนี้ด้วย เพียงแค่ดูที่แฮชแท็ก #vegan บนอินสตาแกรม มันสามารถทำให้ใครบางคนรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้เดินคนเดียวในสายการกินวีแกน และนั่นช่วยขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว” เธอกล่าว

เมื่อมองไปยังอนาคต จ๊ะจ๋าหวังว่า Veganerie จะขยายสาขาไปยังประเทศอื่น ๆ และอยากให้มีแบรนด์และธุรกิจวีแกนอื่น ๆ เปิดตัวมากขึ้น “ตอนนี้มีสตาร์ทอัพอาหาร plant-based มากมาย ในประเทศไทยก็ด้วย หากคุณไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตในปัจจุบัน คุณสามารถหาซื้อได้ทั้งนม โยเกิร์ต ชีสและเนื้อสัตว์ที่ทำมาจากพืช ฉันยินดีที่จะเห็นธุรกิจวีแกนเปิดตัวมากขึ้น รวมถึงร้านอาหารวีแกนอื่น ๆ ฉันไม่รู้สึกว่ามันเป็นการแข่งขัน มันเหมือนเราเป็นทีมอเวนเจอร์สวีแกนที่ช่วยสร้างชุมชนด้วยกันมากกว่า” เธอหัวเราะ

ฉันคิดว่า ไม่เพียงแค่ข่าวและสื่อเท่านั้นที่ช่วยเผยแพร่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับวีแกน แต่ชุมชนก็มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวนี้ด้วย เพียงแค่ดูที่แฮชแท็กบนอินสตาแกรม #vegan มันสามารถทำให้ใครบางคนรู้สึกว่าพวกเขาไม่ได้เดินคนเดียวในสายการกินวีแกน และนั่นช่วยขับเคลื่อนการเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว

— ณปภัสสร ต่อเทียนชัย ผู้ก่อตั้ง Veganerie

Leave a Comment

Share to...